การตั้งค่า PayPal ในการรับเงิน และการถอนเงินให้ได้มากที่สุด

การตั้งค่า PayPal ในการรับเงิน และการถอนเงินให้ได้มากที่สุด

บทที่ 4 การตั้งค่า PayPal ในการรับเงิน

ในการทำ ebay, Amazon หรือ Affiliate ต่างๆ นั้น ถ้ามีการใช้ PayPal เราจะต้องทำการตั้งค่าต่างๆ ดังนี้ เพื่อให้เงินโอนเข้ามายังบัญชีของเราได้อย่างถูกต้อง และเราสามารถถอนได้โดยเร็วและเสียค่าธรรมเนียมให้น้อยที่สุดครับ

จากที่ได้แนะนำว่าการสมัคร PayPal จะต้องใช้บัญชีธนาคารกรุงเทพและบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพ (เท่านั้น) เพื่อประโยชน์สูงสุดของท่านเอง ดังนั้น ในการตั้งค่าเพื่อรับเงินให้ตั้งค่าดังนี้

Bank Name: Bangkok Bank
Account Type: S/A สำหรับบัญชีสะสมทรัพย์ และ F/A สำหรับบัญชีฝากประจำ
Routing Number: 026008691
Account Number: ใส่หมายเลขบัญชี 10 หลัก
Re-Enter Account Number: ใส่หมายเลขบัญชี 10 หลัก อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับการถอนเงินในบัญชี PayPal ให้เลือกประเทศเป็น United States แล้วใส่ข้อมูลเหมือนด้านบน เมื่อเสร็จแล้ว ระบบของ PayPal จะแจ้งว่า “You hve added a bank in United States!” ก็เป็นอันเรียบร้อย

ถอนเงินจาก PayPal อย่างไรให้ได้เงินมากที่สุด

การถอนเงินจาก PayPal เข้าบัญชีธนาคารในไทยทำได้ 2 วิธี คือ ถอนตรงจาก PayPal เข้าบัญชีธนาคารในไทยได้ทุกธนาคาร และถอนผ่านทางธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ค แต่วิธีไหนที่มีค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด เพื่อให้คุณได้รับเม็ดเงินมากที่สุด?

การตัดสินใจว่าจะถอนเงินด้วยวิธีไหนนั้นต้องมีตัวเลข 3 ตัวคือ ค่าธรรมเนียมการถอน อัตราแลกเปลี่ยน และจำนวนเงินที่คุณต้องการถอน นำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณเพื่อหาว่าวิธีการถอนเงินวิธีใดที่ทำให้คุณได้เงินบาทมากที่สุด

ค่าธรรมเนียมการถอนตรงจาก PayPal เข้าบัญชีธนาคารในไทย

PayPal บอกว่าการถอนเงินเข้าไทยนั้น ถ้ายอดเงินไม่ถึง 5,000 บาท PayPal จะคิดค่าธรรมเนียม 50 บาท แต่ถ้ายอดเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป PayPal ไม่คิดค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการถอนเงินจาก PayPal เข้าบัญชีธนาคารในไทย

แต่ทั้งสองวิธีนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนสกุลเงิน 2.5% ของอัตราแลกเปลี่ยนนอกประเทศ (Off Shore) ด้วย

ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนสกุลเงิน

สมมุติว่าคุณต้องการถอนเงิน $1,000 อัตราแลกเปลี่ยน Offshore อยู่ที่ 35 THB/USD คุณจะได้รับเงินบาทเพียง 34,125 บาท

อัตราแลกเปลี่ยน 35 THB/USD
ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนสกุลเงิน 2.5%
อัตราแลกเปลี่ยนที่ได้รับ = 35 x (100% – 2.5%) = 34.125 THB/USD
เงินที่จะถอน $1,000
แปลงเป็นเงินบาท = $1,000 x 34.125 = 34,125 บาท
ยอดเงินมากกว่า 5,000 บาท ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการถอน

ถ้าไม่แน่ใจเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ PayPal ใช้ ก็สามารถใช้ Currency Converter ของ PayPal คำนวณดูได้ โดยผลลัพธ์ที่ได้คืออัตราแลกเปลี่ยนสุทธิหลังจากหักค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนสกุลเงินไปแล้ว

Paypal Currency Converter

ค่าธรรมเนียมการถอนผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ค

การถอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพจะมีค่าธรรมเนียม 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้สาขานิวยอร์ค ส่วนที่สองเป็นค่าธรรมเนียมให้สาขาในประเทศไทย

ค่าธรรมเนียมสำหรับสาขานิวยอร์คคิดจากยอดถอนดังนี้

< $50 : ฟรี
$50.01 – $100 : $3
$100.01 – $2,000 : $5
$2,000.01 – $50,000 : $10
> $50,000 : $20

ส่วนค่าธรรมเนียมสำหรับสาขาประเทศไทยคิดจากยอดถอนที่ถูกหักค่าธรรมเนียมของนิวยอร์ค และแปลงเป็นเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกรุงเทพ (On Shore) แล้ว

0.25% ของยอดเงินบาท ขั้นต่ำอยู่ที่ 200 บาท แต่ไม่เกิน 500 บาท

สมมุติว่าคุณต้องการถอนเงิน $1,000 ผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ค อัตราแลกเปลี่ยน Onshore อยู่ที่ 35 THB/USD คุณจะได้รับเงินบาท 34,625 บาท

ยอดถอน $1,000
ค่าธรรมเนียมสาขานิวยอร์ค ($100.01 – $2,000) = $5
ยอดเงินหลังหักค่าธรรมเนียมสาขานิวยอร์ค = $1,000 – $5 = $995
อัตราแลกเปลี่ยน 35 THB/USD
แปลงเป็นเงินบาท = $995 x 35 = 34,825 บาท
ค่าธรรมเนียมสาขาประเทศไทย = 34,825 x 0.25% = 87.0625 บาท ปัดขึ้นเป็นขั้นต่ำ 200 บาท
เหลือเงินสุทธิ = 34,825 – 200 = 34,625 บาท

จุดตัดสินใจ

จะเห็นได้ว่าถ้าถอนเงินจาก PayPal $1,000 โดยมีอัตราแลกเปลี่ยน Off Shore เท่ากับ On Shore ที่ 35 THB/USD การถอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ค (34,625 บาท) จะให้ยอดเงินบาทสุทธิที่ดีกว่าการถอนตรงจาก PayPal (34,125 บาท)

ในยุคที่แบงก์ชาติมีมาตรการ 30% ออกมา ทำให้อัตราแลกเปลี่ยน Off Shore อยู่ที่ 31 THB/USD ขณะที่ On Shore อยู่ที่ 34 THB/USD ในยุคนั้นการถอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์คถือเป็นทางเลือกที่ดีมาก คิดแบบหยาบๆ จะได้กำไรถึง 3 บาท หรือเกือบ 10%

แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนทั้งสองแบบอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คุณจะตัดสินใจอย่างไร?

แล้วถ้าคุณถอนเงินจำนวนน้อยกว่านี้หรือมากกว่านี้ หรืออัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่านี้หรือต่ำกว่านี้ คุณจะตัดสินใจอย่างไร?

ให้ลองใช้ Excel พล็อตกราฟออกมา จะพบว่าถ้ายอดถอนเงินน้อย การถอนตรง (กราฟสีฟ้า) จะให้ยอดเงินบาทที่สูงกว่าการถอนผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ค (กราฟสีแดง) แต่พอยอดถอนสูงขึ้น กราฟจะเริ่มเข้าใกล้กัน แปลว่าการถอนตรงไม่ได้ให้ยอดเงินบาทที่ดีกว่าแล้ว

กราฟเปรียบเทียบการถอนเงินจำนวนน้อย

กราฟเปรียบเทียบการถอนเงินจำนวนน้อย

และถ้าถอนเงินจำนวนมาก การถอนผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์คจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด

กราฟเปรียบเทียบการถอนเงินจำนวนมาก

กราฟเปรียบเทียบการถอนเงินจำนวนมาก

จุดที่การถอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ค เริ่มให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในกรณีอัตราแลกเปลี่ยน 35 THB/USD อยู่ที่ยอดถอนจำนวน $429 แปลว่าถ้าจะถอนเงินตั้งแต่ $429 ขึ้นไป ให้ถอนผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ค แต่ถ้ายอดถอนเงินต่ำกว่านี้ ควรจะถอนตรงจาก PayPal

ต้นทุนของการถอนเงิน

บางคนอยากรู้ว่าต้นทุนของการถอนเงินคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย เพื่อจะได้ประเมินราคาขายที่ทำให้ไม่ขาดทุนได้ถูก ในที่นี้ผมจะใช้ตัวเลข $429 ในการคิด

ถ้าถอนเงินจำนวน $429 อัตราแลกเปลี่ยน 35 THB/USD โดยไม่มีค่าธรรมเนียมอะไรเลย จะได้เงินเต็มจำนวนที่ 15,015 บาท

แต่ถ้าถอนผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ค จะได้รับเงิน 14,640 บาท

แปลว่าจ่ายค่าธรรมเนียมไปทั้งหมด 15,015 – 14,640 = 375 บาท เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 2.5% ของเงินต้น ซึ่งเปอร์เซ็นต์นี้จะลดลงเรื่อยๆ ถ้าคุณถอนเงินจำนวนมากกว่านี้ เช่น ถ้าถอนเงินจำนวน $49,999 จะมีต้นทุนเพียง 0.05% เท่านั้นครับ

สรุปว่า เงินน้อย ถอนจาก PayPal เงินมาก ถอนจากธนาคารกรุงเทพ แต่จำนวนเท่าไหร่ถือว่าน้อย จำนวนเท่าไหร่ถึอว่ามาก มีอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้นๆ เป็นตัวแปรอยู่ด้วย อย่างไร ก็ควรคำนวณตามตัวอย่างด้านบนดูอีกทีครับ

เครดิต: ถอนเงินอย่างไรให้ได้เงินมากที่สุด เว็บไซต์ เดชคัมภีร์อีเบย์

Tagged: Tags:
Loading Facebook Comments ...

Leave A Comment?

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.