โปรเจคการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน

Mae Hong Son Project

โปรเจคชมรมการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน

OVERVIEW

การท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน มีความซบเซามาตลอดหลายปี ทั้งที่มีสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย มีธรรมชาติที่สวยงาม หลายแห่งที่เป็น unseen มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ความหลากหลายชนเผ่า วัดวาอารามที่สวยงาม สถาปัตยกรรมผิดแผกจากวัดทางเหนือทั่วไป อาหารการกินที่แปลกตา แปลกกลิ่น มีรสชาติไม่เหมือนที่อื่น แต่ไม่สามารถนำสิ่งเหล่านี้มาดึงดูดให้ ผู้คนเดินทางมาท่องเที่ยวได้มากเท่าที่ควร

GOALS

  1. เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้เดินทางมาท่องเที่ยวยังอำเภอเมือง ตลอดจนอำเภอต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น
  2. สร้างเอกลักษณ์ สร้างสีสัน ปฏิรูปจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ ในความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพที่มีให้เลือกเที่ยวในรูปแบบมากมาย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวรูปแบบผจญภัย
  3. สร้างความสามัคคีของกลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความมุ่งมั่นจุดหมายไปในทิศทางเดียวกัน
  4. Re-Brand จังหวัด สร้างภาพเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร

SPECIFICATIONS

การปรับเปลี่ยน Re-Brand จังหวัดแม่ฮ่องสอนใหม่ จากที่ว่าเราต้องการทำให้เมืองของเรา เป็นไปในรูปแบบไหน แต่ให้มองในมุมของผู้มาเยือนว่า สิ่งที่เขาต้องการ หรือสิ่งที่เขาต้องการมาเห็น มาสัมผัสคืออะไรมากกว่า

MILESTONES

การปรับปรุงทัศนียภาพ

แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่อยู่ในหุบเขา มีทัศนียภาพโดยรอบสายตา ที่มีความแปลก ความสวยงามอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว แต่ขาดซึ่งการนำเสนอเรื่องราว Story ให้เป็นที่น่าสนใจ

การก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ป้ายชื่อสถานที่ ที่ไม่มีการออกแบบให้เข้ากับสถานที่ กลมกลืนกับธรรมชาติที่มีอยู่ แต่กลับสร้างป้ายด้วยวัสดุเดิม ๆ ตามแบบรูปทรงเดิม ๆ ที่เป็นแบบแปลนมาตรฐานของทางราชการ ทำให้เป็นการบดบังและเสียทัศนียภาพไปโดยปริยาย

การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก

ปัจจุบันการท่องเที่ยวเปลี่ยนไปมาก จากด้วยการเดินทางที่ถูกลง เช่น สายการบิน low cost และสื่อ Social ต่าง ๆ ที่ทำให้การแพร่ขยายของข้อมูล การโปรโมทเข้าถึงผู้บริโภคเป็นไปโดยง่าย นักท่องเที่ยวจึงมีความหลากหลาย นักท่องเที่ยวที่มีทุนทรัพย์น้อย นักท่องเที่ยวเดินทางคนเดียว นักท่องเที่ยวชาวจีน นักท่องเที่ยวที่มีความบกพร่องทางร่างกาย การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม เช่น ห้องน้ำสำหรับคนพิการ ทางเดินที่ปลอดภัย ป้ายบอกทางต่าง ๆ ที่ชัดเจน การสื่อสาร ที่มีความเป็นสากลและมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง จึงมีความสำคัญมาก ตลอดจนราคาค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายในสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ค่าโดยสารเดินทางในท้องถิ่น ค่าซักผ้าอบผ้า ค่าเข้าชมสถานที่ จึงควรมีกฎเกณฑ์ราคาที่มีความเป็นมาตรฐานและเหมาะสม

การสร้างภาพลักษณ์

มีการถกเถียงและพยายามที่จะสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองแม่ฮ่องสอน เช่น การเป็นเมืองไทยใหญ่ เป็นต้น แต่การดำเนินการ ความคืบหน้าน้อยมาก เนื่องจากขาดเจ้าภาพที่มีความสามารถในการตัดสินใจ และสรุปในการประชุม และมีความไม่ต่อเนื่องในการประชุมแต่ละครั้ง และเหมือนจะต้องเริ่มต้นใหม่ทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนอำนาจทางการปกครองของจังหวัด จึงควรให้มีการบรรจุโครงการต่าง ๆ เข้าเป็นแผนการพัฒนาจังหวัด เพื่อที่จะได้มีการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

PROJECTS

แม่ฮ่องสอน เมืองพูดได้

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติมาเยือนเป็นจำนวนมาก หลากหลายภาษา ประกอบกับจังหวัดเองก็มีชนเผ่าพื้นเมืองเป็นจำนวนมาก มีภาษาในการใช้งานที่หลากหลาย อีกทั้งคนที่มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษากลางก็มีไม่มากนัก ทำให้การสื่อสารในบางครั้ง เป็นไปได้อย่างยากลำบาก ที่จริงแล้ว ก็เป็นเสน่ห์ของเมืองอย่างหนึ่ง ถ้าผู้คนของจังหวัดพยายามที่จะช่วยเหลือ และพยายามสื่อสารให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ

การสร้างเมืองแม่ฮ่องสอนให้เป็นเมืองที่พูดได้นั้น ถ้าทำได้จะสามารถนำมาโปรโมทได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ยังไม่มีจังหวัดใดในเมืองไทยที่ทำได้เช่นนี้มาก่อน ในการทำงาน ก็ไม่ใช่เรื่องยาก Know How ต่าง ๆ Tools ที่จะนำมาใช้งาน ส่วนมากก็เป็น FREE Source ที่สามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่น QR Code ก็สามารถ Gen เองได้โดยง่าย

ดังนั้น ในการทำงาน จึงมีเพียงการเตรียมการข้อมูลต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย วิดีโอ ข้อมูลเพียงสังเขป เช่น ข้อมูลสถานที่ ประวัติ การเดินทาง ทำเป็นภาษาหลัก ๆ เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัดวาอาราม และข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลของโรงแรมแต่ละแห่ง ข้อมูลร้านอาหาร ข้อมูลจองตำแหน่งหลัก ๆ เช่น เมื่อคุณอยู่จุดนี้ มีสถานที่ใกล้เคียงอะไรที่น่าสนใจ เป็นต้น

ป้ายบอกทาง ทัศนียภาพในตัวเมือง

การปรับเปลี่ยนป้ายบอกทางเป็น 3 ภาษา ไทย อังกฤษ ไทยใหญ่ หรือ 2 ภาษา ไทย อังกฤษ โดยมีการสร้างอัตลักษณ์รูปแบบฟ้อนต์ที่เป็นตัวของตัวเอง ก็เป็นการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ สร้างความแปลกให้กับตัวเมืองแม่ฮ่องสอนแล้ว

ปัจจุบัน การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย เปลี่ยนแปลงไป และแตกต่างกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยสิ้นเชิง

  • นักท่องเที่ยวต่างชาติ เที่ยวเพื่อหาประสบการณ์แปลกใหม่ เติมสีสันให้กับชีวิต พักผ่อน
  • นักท่องเที่ยวชาวไทย ท่องเที่ยวพักผ่อน น้อยคนจะเที่ยวเพื่อสร้างประสบการณ์ แต่จากการศึกษาและประสบการณ์จากการสอนการตลาดออนไลน์มา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทย ท่องเที่ยวเพื่อสร้างความยอมรับจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะโลกโซเชียล เป็นการท่องเที่ยวตามกระแสเสียเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้น จะเห็นว่า นักท่องเที่ยวชาวไทย จะท่องเที่ยวด้วยการถ่ายภาพ แล้วนำไปลงใน Facebook, Instagram เป็นหลัก การเตรียมจุดต่าง ๆ ให้เป็นที่น่าสนใจ ถ่ายภาพ จึงเป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะโปรโมทตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่าง อำเภอปาย ที่ผู้ประกอบการต่างแข่งขันกัน ตกแต่งสถานที่ ภูมิทัศน์ และป้ายต่าง ๆ สร้างจุดสนใจ เป็นที่ถ่ายภาพโดยเฉพาะ

ปรับปรุงออกแบบซุ้มไฟแดงให้สวยงาม เชิญศิลปิน อาจารย์จากศิลปากร มาช่วยในการออกแบบ ซึ่งมีเพียง 5 จุด

แผนที่การเดินทางที่เรียบง่าย ชัดเจน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติมาเยือนเป็นจำนวนมาก หลากหลายภาษา ประกอบกับจังหวัดเองก็มีชนเผ่าต่าง ๆ ที่มีภาษาเป็นของตัวเอง ที่นับเป็นการสร้างสีสันของเมืองเป็นอย่างดี แต่ก็เป็นการยากลำบากในการสื่อสาร การทำแผนที่ที่มีการใช้งานง่าย ๆ ชัดเจน จีงมีความสำคัญมาก

จะพูดว่าการเดินทางในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้ Google Map ก็ได้ง่ายนิดเดียว ก็ถูก แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวหลาย ๆ ชาติ เช่น ชาวญี่ปุ่น ที่ยังนิยมใช้แผนที่ที่เป็นกระดาษอยู่ และก็มีนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกจำนวนมาก ที่ไม่ได้มีการใช้มือถือ หรือ Gadget ต่าง ๆ ที่จะเข้าถึง Google Map ได้ อีกทั้งเครือข่าย Free Internet ในบ้านเราก็ยังไม่ได้แพร่หลายครอบคลุมไปทั่วทุกจุด โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทำไมจึงไม่ทำให้ทั้งสองส่วน Combine รวมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียว แผนที่ที่มีการออกแบบที่ดี ประกอบไปด้วยงานกราฟิก งาน infographic นั้น สามารถกลายเป็นโบรชัวร์ที่จะสื่อความหมายของจังหวัด และช่องการการโปรโมทได้เป็นอย่างดี เราสามารถออกแบบแผนที่ และใส่ QR Code ที่สามารถ scan ข้อมูลสำคัญ ๆ พิกัดการเดินทางต่าง ๆ เข้าสู่มือถือ แทบเล็ต ได้ง่าย ๆ เพียงคลิกเดียว

เว็บไซต์ที่เป็นหนึ่งเดียว

สื่อเว็บไซต์ เป็นสื่อเก่า ที่เมื่อตอนเกิดขึ้นมาใหม่ ๆ การทำเว็บไซต์ เป็นเพียงการทำเพื่อหน้าตา ดังนั้น เว็บไซต์จึงแทบไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก แต่ตั้งแต่ที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ราคามือถือที่ถูกลง ความรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตที่มีมากขึ้น Social Media ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา ทำให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ นั้น เป็นที่ต้องการมาก

ในการเดินทางไปยังสถานที่ใดที่หนึ่ง การจะไปทานข้าวร้านใดร้านหนึ่ง มากกว่า 90% จะทำการค้นหาใน Google เป็นอันดับแรก การให้ข้อมูลของแต่ละสถานที่นั้น ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ที่ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของสถานที่ ควรเป็นผู้ให้ข้อมูลเอง

“เมื่อเราไม่ชิงให้ข้อมูลเองก่อน คนอื่นก็จะนำไปสื่อสารเอง” ซึ่งจะผิดหรือถูก เราไม่สามารถควบคุมได้ Viral Marketing หรือการพูดปากต่อปาก เป็นสื่อที่สำคัญมากเป็นอันดับหนึ่ง

จากการวิจัย การพูดในด้านลบ ด้านไม่ดี คนจะนำไปสื่อสารต่อ 11 ครั้ง แต่การพูดในด้านดีนั้น มีเพียงการสื่อสารส่งต่อเพียง 3 ครั้ง เท่านั้น

ในการทำ SEO หรือการทำให้การสืบค้นมาเจอเราได้นั้น ปัจจุบัน ก็ทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึ่มต่าง ๆ ของ Google อยู่ตลอดเวลา รวมทั้ง Facebook เองก็ด้วย ถ้าติดตาม จะพบว่า สมัยแรก ๆ นั้น มีแฟนเพจ 1 พันคน โพสต์ 1 ครั้ง ก็เห็น 1 พันคน แต่ปัจจุบัน การโพสต์ใน Facebook จะเห็นเพียงไม่ถึง 10% การทำตลาดในโลกโซเซียล หรือการทำ SEO ในเว็บไซต์ เพื่อให้แสดงผลเราในหน้าแรกของ Google จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อีกต่อไป เพราะทุกอย่างที่เคยฟรี ปัจจุบันกลายเป็นว่า คุณต้องยอมเสียเงินเพื่อให้คนเห็น เช่น Google Adword, Facebook Ad. โดยเฉพาะ Facebook Ad. ที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ในเวลาไม่นาน ทาง Facebook ก็จะเปลี่ยนการนำเสนอไปเป็นรูปแบบวิดีโอ และมีการเพิ่ม Market Place

การสร้างเว็บไซต์หลัก ที่จะเป็นช่องทางนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง การสร้างทีมที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำ Content ของทุก ๆ อำเภอ เพื่อช่วยกันนำเสนอข้อมูล ก็ยิ่งเป็นที่เป็นจำเป็น ประกอบกับเว็บของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่สามารถเป็น Backlink ได้เป็นอย่างดี จะสามารถดันให้เว็บไซต์ขึ้นติดหน้าแรกของการค้นหา จึงไม่ใช่เรื่องยาก

maehongson.org

ปัจจุบัน ได้มีการจัดทำเว็บไซต์ MaeHongSon.org ขึ้นมา โดยได้ทำการออกทุนทรัพย์ไปจำนวนหนึ่ง ค่าชื่อโดเมนที่ทำการซื้อมามูลค่า 30,000 บาท และค่าเขียนโปรแกรม 45,000 บาท โดยวางรูปแบบ Content 3 หัวข้อหลัก ดังนี้

  1. ที่กิน ที่เที่ยว ที่พัก ไลฟ์สไตล์ ร้านค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว
  2. Market ที่เตรียมไว้สำหรับเป็นช่องทางการให้ข้อมูลและขายสินค้าประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการขายสินค้าออนไลน์
  3. Classified หรือประกาศซื้อขาย ที่ทำไว้เพื่อสร้าง traffic ให้คนเข้ามาใช้งาน

สิ่งที่ต้องการในการทำงาน

  1. การทำข้อมูลต่าง ๆ ในเบื้องต้น ของแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก สินค้าโอท๊อป ฯลฯ ตามหัวข้อเมนู
  2. การสร้างทีมงานในการเขียนบทความ content โดยจะเป็นผู้สอนทีมงานเอง
  3. การให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ของหน่วยงานราชการ และภาคเอกชน เพื่อนำมาสร้าง content

งานเทศกาล และกิจกรรมต่าง ๆ ของจังหวัด

แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่มีเทศกาลและประเพณีต่าง ๆ มากที่สุดในประเทศ

แต่ไม่มีงานไหนที่เป็นงานใหญ่ระดับประเทศ ที่จะดึงมาเป็นจุดขายได้เลย

ปัญหา

  1. การรวมตัวกันของชุมชน
  2. ไม่มีการพูดคุยปรึกษาหารือถึงความต้องการของภาครัฐและเอกชน
  3. การดึงเอาบุคคลภายนอกที่ไม่เข้าใจในความเป็นแม่ฮ่องสอนมาจัดงาน
  4. การประชาสัมพันธ์ที่อ่อน เข้าไม่ทั่วถึงทุกสื่อ และการใช้เวลาในการประชาสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม
  5. ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มี EGO สูง ไม่มีความคิดรอมชอมในการปรับปรุง ให้เข้ากับสภาพสังคมการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน (เคสตัวอย่าง มีเดีย ทศกัณฑ์)

การแก้ไข

  1. การวางแผนล่วงหน้า นำปฎิทินเทศกาลกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในปีถัดไป ออกมาทำการวางแผนล่วงหน้าทั้งหมด โดยมีการแบ่งเจ้าหน้าที่ในการรับผิดชอบที่ชัดเจน สามารถใช้สื่อออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อระดมสมอง ระดมความคิดในการจัดงานได้
  2. การจัดจ้างบริษัทออกาไนซ์ ควรมีการเปิดการรับ Brief งานให้ทำการแข่งขัน เพื่อเลือกธีมงานที่ออกมาดีที่สุด ทั้งด้านงบประมาณ และการจัดแสดงงาน
  3. ทำการชี้แจงให้ชุมชนทราบถึง ลักษณะในการทำงานในปัจจุบัน การทำการตลาดในบางครั้ง อาจจะผิดวัตถุประสงค์ของชุมชน แต่จะสร้างผลลัพธ์ที่ดีแก่ชุมชนได้อย่างไรบ้าง

ถนนคนเดิน

ถนนคนเดิน เป็นสีสันทั้งกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และยังเป็นสถานที่ให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น ได้ใช้เป็นสถานที่ขายสินค้า สร้างรายได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน ถนนคนเดินของอำเภอเมือง มีแค่ช่วงหน้า High-Season เท่านั้น ซึ่งเมื่อหมดเทศกาล ก็จะกลับคืนสู่ความเงียบเหงาเช่นเดิม

หลังจากหมดหน้าเทศกาลแล้ว ถ้าสามารถทำถนนคนเดินต่อ โดยมีการหมุนเวียนสถานที่อื่น ๆ บ้าง เช่น บริเวณทางขึ้นพระธาตุดอยกองมู บริเวณถนนวันเวย์ถนนมรรคสันติ บริเวณพื้นที่ว่างตรงแยกไฟแดงข้าง ๆ Honda เป็นต้น

Loading Facebook Comments ...

Leave A Comment?

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.