หัตถกรรมกระจูดวรรณี VARNI

หัตถกรรมกระจูดวรรณี VARNI

หัตถกรรมกระจูดวรรณี VARNI สร้างสรรค์บนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

หัตถกรรมกระจูดวรรณี VARNI

ไปเยี่ยมลูกศิษย์มาครับ ออกงานที่งานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกล ด้วยพระบารมี เมืองทองธานี ใบข้างล่างนี้ ที่เห็นว่าลวดลายไม่เป็นระเบียบ นี่เกิดจากการใช้เศษกระจูดที่เหลือเอามาถักขึ้นรูปเป็นตะกร้าครับ กลายเป็นใบที่ชอบที่สุดเลย

หัตถกรรมกระจูดวรรณี VARNI

กระจูด เป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” (Sedge) คือ ในตระกูล Cyperaccae มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Lepironia artica late กระจูด เป็นวัชพืชที่เจริญเติบโตง่าย และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว พบมากแถบภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย ต้นกระจูด ชอบขึ้นในที่ ๆ มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณริมทะเลสาบที่เป็นดินโคลน ซึ่งเรียกว่า “พรุ” หรือชาวพื้นเมืองทางภาคใต้ เรียกว่า “โพระ” ต้นกระจูดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะมีขนาดเล็ก และไม่ยาวนัก การเพาะปลูกกระจูดต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ต้นจึงจะโตได้ขนาด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ ลำต้นยาวไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เมื่อถอนต้นกระจูดไปแล้ว หน่อก็จะแตกต้นใหม่ขึ้นมาแทนที่หมุนเวียนกันไป ต้นกระจูดมี 2 ชนิด คือ จูดใหญ่ และจูดหนู จูดใหญ่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ส่วนจูดหนูมีลำต้นเล็กและสั้น ความเหนียวน้อยกว่าจูดใหญ่ โดยทั่วไปราษฎรทางภาคใต้ใช้กระจูดในการสานเสื่อ ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตรและสิ่งของอื่นๆ กรรมวิธีสานเสื่อจูดนั้นจะแตกต่างจากการสานเสื่อทั่วไป ชาวบ้านจะนำต้นกระจูดมาคลุกดินขาวก่อนตากแดดให้แห้งแล้วจึงทุบต้นกระจูดให้แบนเพื่อให้มีความนิ่มตัว หากต้องการให้มีสีสันก็นำไปย้อมสีก่อนนำมาสาน แหล่งผลิตกระจูดในจังหวัดพัทลุงมีเพียงแห่งเดียว คือ ที่หมู่บ้านทะเลน้อย

Tagged: Tags:
Loading Facebook Comments ...

Leave A Comment?

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.